
การทำงานต่างประเทศถือเป็นความหวังของคนไทยจำนวนไม่น้อยที่มองว่าจะได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากกับคนอื่นเขาได้เสียทีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปยังประเทศที่มีค่าครองชีพสูงกว่า เช่น เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ หรือแม้แต่ในแถบตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามค่าครองชีพของแต่ละประเทศก็ย่อมแตกต่างกันตามปัจจัยหลายๆ ด้าน ดังนั้นขอยกตัวอย่างค่าครองชีพของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่คนไทยจำนวนไม่น้อยอาศัยอยู่ว่าเป็นอย่างไร
ค่าครองชีพของสหรัฐฯ
ลองมาเทียบกับค่าเงินบาท โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาท : $1
หากทำงาน วันละ 8 ชม. = $7.25 x 8 = 58$
ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน = $58 x 5 = 290$
ทำงาน 4 สัปดาห์ = $290 x 4 = 1,160$
เทียบเงินไทย $ 1,160 = 39,440บาท
ภาษีสหรัฐอเมริกาที่ต้องจ่าย (US Taxes)
คนไทยหลายคนเห็นตัวเลขแล้วอยากจะไปทำงานเก็บงาน แต่ความจริงแล้วสหรัฐอเมริกา กลับมีค่าภาษีที่สุดแสนจะแพงด้วยเช่นกัน เพราะต้องหักถึง 7.65% ของทั้งหมดจากเงินเดือน เมื่อเทียบจากตัวเลขข้างบนแล้ว จาก $1,160 จะเหลือเก็บ $1,071 ซึ่งภาษีที่กล่าวมานี้ จ่ายให้กับส่วนต่างๆ คือ เงินประกันสังคม, เงินค่าประกันรักษาพยาบาลยามแก่เฒ่า, ภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐบาลกลาง, ภาษีรัฐที่เราอยู่อาศัย และบางเมืองเรียกเก็บภาษีเมืองที่เราอยู่ อีกทั้งยังมีภาษีที่จะหักอีกถึง 10% – 39.60% เป็นภาษีที่จะถูกหักนำส่งให้รัฐบาลกลาง คือภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐบาลกลาง ยกเว้นหากมีบุตร เช่น บุตร 2 คน เมื่อทำงานและได้เงินค่าแรงขั้นต่ำ รัฐบาลจะให้สิทธิ์ค่าลดหย่อนคู่สมรสถึง $12,700
ค่าครองชีพในสหรัฐอเมริกา
การใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา ต้องเข้าใจถึงพื้นที่แต่ละรัฐทั้ง 50 รัฐด้วย เปรียบเทียบระหว่างในเมืองหลวง และชนบท อย่างมหานครเมืองหลวง New York จะได้ค่าแรงขั้นต่ำราวๆ $9 ต่อชั่วโมง หากมาทางชนบทจะลดต่ำลงมา แต่ทั้งนี้การได้รับค่าแรงมากย่อมจ่ายให้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ตามแต่ละพื้นที่เศรษฐกิจเช่นกัน
ความคุ้มค่าในการทำงานต่างแดน
สำหรับคนไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานเก็บเงินที่ต่างแดนนั้น การศึกษารายละเอียดทั้งค่าแรง ภาษี และกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หลายกรณีที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมาย เพื่อเลี่ยงจ่ายค่าภาษีให้กับรัฐบาล แต่การกระทำเหล่านั้นกลับเป็นสิ่งไม่ปลอดภัยสำหรับตัวเองเพราะไม่มีรายชื่อในระบบแรงงาน ไร้สถานะทางกฎหมายจึงไม่สามารถใช้สวัสดิการการคุ้มครองจากภาครัฐ ส่วนนายจ้างจะจ่ายค่าแรงให้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนดได้เสียอีก การใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก นายจ้างอาจยึดพาสปอร์ต ป้องกันแรงงานหลบหนี สารพัด ที่เคยเกิดกรณีนำไปสู่การเรียกร้องต่างๆ ซึ่งถามว่าคุ้มค่าหรือไม่หากมองในมุมค่าแรงก็คุ้มค่าแต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมด้วยเช่นกัน